การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์หลักสูตร
เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เราจะต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าในหลักสูตรต้องการอะไร จุดมุ่งหมายคืออะไรแล้วเอามาปรับใช้ในการเขียนแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาระการเรียน เนื้อหา และกับตัวผู้เรียนดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน จะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพราะแต่ละคนมีลักษระไม่เหมือนกันและ เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน ฝึกฝนให้รู้จักการใช้เทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีอิสระและมีความรับผิดชอบ
3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ครูสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้ ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทประพันธ์ในวิชาวรรณคดี เมื่อครูได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มีเนื้อหาของการปฏิบัติ เมื่อผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แล้ว ครูควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ทำงาน ปฏิบัติซ้ำอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
การ เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร และยังมีการนำสื่อที่ทันสมัยมาใช้เช่นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดการคิด การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
เป็นการประเมินผลผู้เรียนในทุกๆด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน
6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้ง การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและหรือ
พัฒนาผู้เรียนอย่างน้อยปีละ 1 รายการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนสอน ผลจากการวิจัยในชั้นเรียน ช่วยแก้ปัญหาปรับพฤติกรรมและหรือยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้งานวิจัยในชั้นเรียนได้รับการยอมรับและมีการขยายผล
ตัวอย่างแผนการสอน
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา เวลา 1 ชั่วโมง
1. สาระสำคัญ
ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนเรา และศาสนายังประกอบด้วยหลักจริยธรรม และการปฏิบัติที่ถูกหลอม เป็นสถาบันทางสังคม ที่ส่งเสริมให้ผู้นับถือในแต่ละศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนา โดยมีศาสนาในแต่ละศาสนาเป็นผู้ก่อตั้งหลักธรรมคัมภีร์ และสาวกสืบทอดซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบของศาสนา พร้อมกันนั้นยังมีประโยชน์เพื่อรักษาจรรโลงให้สังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ภายใต้หลักปฏิบัติของแต่ละศาสนา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายถึงความสำคัญ ประโยชน์และความคิดหลักของศาสนาได้
2.2 มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน และได้ฝึกหัดการตัดสินใจ
2.3 ประพฤติปฏิบัติตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
3. สาระการเรียนรู้
3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
3.2 ความหมายและความสำคัญของศาสนา
3.3 สาเหตุของการเกิดศาสนา
3.4 องค์ประกอบของศาสนา
3.5 ประโยชน์ของศาสนา
4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 ขั้นทดสอบก่อนเรียน
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แล้วให้นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจ โดยครูเป็นผู้เฉลยคำตอบ แล้วนักเรียนนำคะแนนที่ได้บันทึกลงในแบบบันทึกของตนเอง
4.2 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
4.2.1 นักเรียนร้องเพลง “ศาสนาของไทย” โดยครูแจกเนื้อเพลงให้นักเรียนอ่านและฝึกร้อง พร้อมกับทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ
4.2.2 ครูนำภาพที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่าง ๆ มาให้นักเรียนดู ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนาที่ตนเองนับถือ และพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ ว่าพิธีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับศาสนาใด มีองค์ประกอบของศาสนาใดบ้าง โดยครูตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบ
4.3 ขั้นสอน
4.3.1 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-6 คน ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ศาสนาที่มีใน
ประเทศไทย และองค์ประกอบของศาสนาต่าง ๆ แล้วครูใช้การสอนด้วยวิธีบรรยาย
4.3.2 แต่ละกลุ่มศึกษาเรียบร้อยแล้วให้แต่ละกลุ่ม สรุปความรู้ลงในแผนภาพความคิด ในใบงานที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
4.3.3 หลังจากที่แต่ละกลุ่มทำงานเรียนร้อยแล้วให้นักเรียนทุกคนทำแบบฝึกหัด ตามใบงานที่ 2 เรื่อง ศาสนาที่ตนนับถือ
4.4 ขั้นสรุป
4.4.1 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป และสร้างองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา และนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ บันทึกลงในแผนภาพความคิด
4.4.2 นักเรียนทำกิจกรรม แบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน ซึ่งเป็นการบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
4.5 ขั้นฝึกทักษะ
4.5.1 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แล้วเปลี่ยนกันตรวจ โดยครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง นักเรียนนำคะแนนที่ได้บันทึกลงในแบบบันทึกตนเอง
4.5.2 นักเรียนทำแบบฝึกหัด เป็นการบ้าน
5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
5.1 หนังสือเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมขั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5.2 แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
5.3 ใบความรู้จำนวน 1 เรื่อง คือใบความรู้ที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
5.4 ใบงานจำนวน 2 ชิ้น คือ ใบงานที่ 1 เรื่องศาสนาที่มีในประเทศไทย ใบงานที่ 2 เรื่องศาสนาที่นักเรียนนับถือ
5.5 ภาพประกอบพิธีกรรมของศาสนาต่าง ๆ ที่แขวนอยู่ข้างห้องเรียน
5.6 เนื้อเพลงศาสนาของไทย
5.7 แบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน
6. การวัดและประเมินผล
6.1 วิธีวัดผลและประเมินผล
6.1.1 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
6.1.2 สังเกตกระบวนการทำงานกลุ่ม
6.1.3 ตรวจใบงาน 2 ชิ้น
6.1.4 ตรวจแบบบันทึก การนับถือศาสนาของนักเรียน
6.1.5 ตรวจแบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน
6.2 เครื่องมือวัดผล
6.2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
6.2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม
6.2.3 ใบงานจำนวน 2 ชิ้น
6.2.4 แบบบันทึกการนับถือศาสนาของนักเรียน
6.2.5 แบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน
6.3 เกณฑ์การประเมิน
6.3.1 ผ่านการทำแบบทดสอบได้ร้อยละ 70
6.3.2 ผ่านการประเมินกระบวนการทำงานกลุ่มร้อยละ 70
6.3.3 ผ่านการประเมินผลงานการทำงานร้อยละ 70
7. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนอ่านบทเรียนทบทวนเป็นการบ้าน
8. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ
8.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
8.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ การแสดงออกทางอารมณ์
8.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา การทำท่าทางประกอบตามจินตนาการ
8.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การสนทนา การสรุป
9. ภาคผนวก
9.1 บันทึกผลหลังการสอน
9.2 ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
9.3 ใบงานที่ 1 เรื่องศาสนาที่มีในประเทศไทย ใบงานที่ 2 เรื่องศาสนาที่นักเรียนนับถือ
9.4 แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียน
9.5 แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
9.6 เพลงศาสนาของไทย
9.7 แบบบูรณาการ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ใบความรู้ที่ 1
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนทำความดี ละเว้นความชั่ว ศาสนาที่สำคัญในประเทศไทย คือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ศาสนาสิกข์ และศาสนาขงจื้อ ดังนั้นคนไทยควรศึกษาทุกศาสนา เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน และนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ความหมายของศาสนา
ศาสนา คือ คำสั่งสอน หรือข้อบังคับ ที่ปรากฏในแต่ละศาสนา โดยลักษณะคำสอนที่เป็นศาสนาต้องเป็นคำสอนที่เกี่ยวกับจุดหมายสูงสุดของชีวิต รวมทั้งมีคำสอนเกี่ยวกับศีลธรรม และพิธีกรรม
สาเหตุของการเกิดศาสนา
1. ความกลัวในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าฝ่า ความตาย จึงอ้อนวอนบูชา เพื่อป้องกัน เพื่อความอยู่รอด
2. ความไม่รู้ เช่น ความมืด ความสว่าง เจ็บ ตาย คิดว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาล จึงเกิดความศรัทธา เคารพบูชา จนกลายเป็นศาสนาในที่สุด
3. ความเลื่อมใสศรัทธา คนเราเมื่อเกิดความเชื่อก็จะศรัทธากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เช่น พระเจ้า นางไม้ เทวดา เป็นต้น จนกลายเป็นศาสนา
องค์ประกอบของศาสนา
แต่ละศาสนามีองค์ประกอบที่รวมกันเป็นศาสนา ดังนี้
1. ศาสดา หมายถึง ผู้ค้นหลักธรรม เผยแผ่, ประกาศศาสนา หรือก่อตั้งศาสนา
2. คัมภีร์ทางศาสนา หรือหลักคำสอนที่ศาสดาค้นพบนำมาสอนเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนา นั้น
3. สาวก คือ ผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอน และสั่งสอน ศาสนิกชนของตน
4. พิธีกรรม คือ ระเบียบพิธีสำหรับปฏิบัติในแต่ละศาสนา
5. ศาสนสถาน คือ สถานที่ซึ่งมีไว้ประกอบกิจทางศาสนานั้น ๆ
6. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมาย หรือสิ่งแทนศาสนานั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น