ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี
เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (อายุ 78 ปี)
ที่อยู่จังหวัดกาญจนบุรี
สัญชาติ ไทย
รู้จักในฐานะ ราษฎรอาวุโส
อาชีพ ข้าราชการบำนาญ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส นักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (อายุ 78 ปี) ณ ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี ศึกษาชั้นมูลที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง พ.ศ. 2490 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นเตรียมแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จบการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร
ประวัติการศึกษา
- 2490 มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- 2492 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
- 2498 พ.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2503 Ph.D. มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
- 2504 มนุษยพันธุศาสตร์ (Human Genetics) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
2.ประวัติการทำงาน
1. การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน
2. การตรวจรักษาและการวิจัย
3. งานบริหาร
1. รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (2522-2526)
2. หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2528-2530)
3. ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข(2527-2530)
4. ประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมาย รวมทั้งมูลนิธิ และสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด
5. ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย (2536-ปัจจุบัน)
6. ประธานมูลนิธิไทย
7. ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ อานันทมหิดล และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
8. ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
9. ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการหลักการการจัดตั้งราชวิทยาลัย ครุศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
10. ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อการผลิตยาทางอุตสาหกรรม องค์การเภสัชกรรม
11. คณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
12. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการต่างๆ
13. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ม.มหิดล, ธรรมศาสตร์, จุฬาฯ, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) , สถาบันราชภัฏ, ขอนแก่น, สงขลา
14. คณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท จุฬาฯ
15. ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ
16. ประธานกรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
17. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
18. คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
19. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Steering Committee) กระทรวงสาธารณสุข
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ดิฉันชอบผลงานนั้นเพราะดิฉันจะได้นำเอาสิ่งที่อาจารย์ได้ทำเอาไว้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและอาจารย์ก็ยังเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ และยังมีความชำนาญในด้านการสาธารณะสุขและเป็นคนที่มีความเสียสละและยังมีความเอื้อเฟื้อแผ่แก่คนรอบข้าง
ที่มา http://wapedia.mobi/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น